มาดูส่วนสูงที่สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของสจ๊วตกันค่ะ
ผู้สมัครหญิง
- สัญชาติไทย สถานภาพโสด
- ความสูงไม่น้อยกว่า 156 เซนติเมตร และน้ำหนักต้องได้สัดส่วนกับความสูง
- สามารถว่ายน้ำได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 50 เมตร โดยต้องว่ายท่าฟรีสไตล์ได้ด้วย
ผู้สมัครชาย
- สัญชาติไทยผ่านการเกณฑ์ทหารหรือได้รับยกเว้นการเกณฑ์ทหารตามระเบียบของทางราชการแล้ว
- ความสูงไม่น้อยกว่า165เซนติเมตรและน้ำหนักต้องได้สัดส่วนกับความสูง
- สามารถว่ายน้ำได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 100 เมตร โดยต้องว่ายท่าฟรีสไตล์ได้ด้วย
คุณสมบัติอื่นๆ
- วุ ติการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าไม่จำกัดสาขา(ผู้สำเร็จการ ศึกษาจากต่างประเทศต้องมีหนังสือรับรองการเทียบวุฒิจากทบวงมหาวิทยาลัยมา แสดงพร้อมกันด้วย)
- ผ่านทดสอบข้อเขียภาษาอังกฤษ Test of English for International Communication(TOEIC)600คะแนนขึ้นไป หรือ Test of English as a Foreing Language (TOEFL) 500คะแนนขึ้นไป หรือInternational English Language Tessting (IELTS)5.5คะแนนขึ้นไป ผลการทดสอบข้อเขียนภาษาอังกฤษดังกล่าวต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร
- มีความรู้ความสามารถในการพูดและเข้าใจภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีและหากมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาจีน ผรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลี่ยนญี่ปุ่น และสเปน จะเป็นประโยชน์ในการพิจารณา
- สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่วมแว่นสายตา
- มีความกระตือรือร้น เอาใจใส่และรักงานบิรการ
- มีมนุษย์สัมพันธ์ดี
- มีบุคลิกภาพดีและเหมาะสมในการเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
ผู้สมัครต้องนำต้นฉบับพร้อมสำเนาของเอกสารต่อไปนี้มายื่นให้ครบถ้วนในวันรับสมัคร ดังนี้
- หลักฐานการศึกษา
- ทะเบียบบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน ผลคะแนน TOEIC หรือ TOEFL หรือ IELTS รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 2 รูป
- เฉพาะผู้สมัครชายต้องมีหลักฐานการผ่านหรือได้รับยกเว้นการเกณฑ์ทหาร
หมายเหตุ คุณสมบัติต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละสายการบินกำหนดมา ท่านสามารถติดตามทางเว็บไซด์อีกครั้งได้ที่สถาบัน
2. ถ้าภาษาอังกฤษไม่ดีจะเป็นแอร์ได้ไหมคะ?
เริ่มแรกน้องๆที่รู้ตัวว่าภาษาอังกฤษไม่ค่อยดีก็ต้องเริ่มต้นเตรียมความ พร้อมตั้งแต่ในส่วนของภาษาอังกฤษที่เป็นในส่วนของToeicก่อนเลยนะคะ ถึงแม้ว่าเข้าเรียนครั้งแรกๆ จะดูเหมือนกับมันเร็วไปนิดหนึ่งแต่ว่าทางสถาบันก็มีการปูพื้นฐานให้อยู่แล้ว เพียงแต่น้องเข้าเรียนประจำอย่าขาดหายไปภาษาอังกฤษของน้องก็ต้องพัฒนาขึ้น แน่นอน และถึงสอบ Toeic ครั้งแรกไม่ผ่านก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะทางสถาบันยินดีที่จะให้กลับมาเรียนซ้ำได้อีก โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนอีก เพราะว่าข้อสอบ Toeic ก็ค่อนข้างยากเหมือนกันสำหรับน้องๆที่พื้นฐานภาษาอังกฤษไม่ค่อยดี พี่เชื่อมั่นว่าถ้าน้องๆตั้งใจที่เรียนเข้าเรียนทุกครั้งและพยายามทบทวน บ่อยๆ ซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษ ผลคะแนน650คงไม่ไกลเกินไป แล้วหลังจากที่น้องได้คะแนนToeic650คะแนนแล้ว น้องก็ต้องมาดูที่การสนทนาของเราเป็นอย่างไรบ้าง ถ้ายังออกเสียงไม่ถูกต้องก็อาจจะต้องเรียน Conversation กับอาจารย์เจ้าของภาษาอีกนิดหนึ่ง เพื่อจะได้ฝึกในส่วนของการออกเสียงหรือสำเนียงให้เหมือนกับเจ้าของภาษา เพื่อเอาไปใช้ในส่วนของการสัมภาษณ์งานในขั้นต่อไป
3. ในการเตรียมตัวก่อนที่จะไปสมัครงานทางด้าน Air Hostess - Steward จะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง? และทางสถาบัน Inter Academy จะมีการเตรียมความพร้อมช่วยน้อง ๆ อย่างไรบ้างคะ
ตรง นี้นะคะทางสถาบัน Inter Academy ของเราจะมีการเตรียมความพร้อมให้น้อง ๆ ทุก ๆ ด้าน เริ่มแรกเลยนะคะเราจะต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่ในส่วนของภาษาอังกฤษหรือดู ที่ผล Toeic กันเลยนะคะถ้าน้อง ๆ ที่ยังไม่มีผลคะแนน Toeicก็ต้องมาเตรียมความพร้อมกันในส่วนของตรงนี้กันก่อนเพราะค่อนข้างที่จะ สำคัญ เนื่องจากบางสายการบินถ้าไม่มีผลคะแนน Toeic ยื่นก็ถือว่าคุณสมบัติไม่ครบถ้วนก็ไม่มีสิทธิในการเข้าสัมภาษณ์นะคะ หลังจากที่น้อง ๆ มีผลคะแนน Toeic แล้วนะคะ ทางสถาบันก็จะมีการอบรมในส่วนของการสัมภาษณ์งานทางด้านสายการบินโดยตรงซึ่ง น้อง ๆ ก็จะได้เข้าอบรมในหัวข้อดังนี้
ทักษะการสัมภาษณ์ และการตอบคำถาม AIRLINE–INTERVIEW
การฝึกพูดภาษาอังกฤษ English Conversation
Group Discussion & Teamwork Assessment
การเขียนจดหมายสมัครงาน Application Letter & Resume
ฝึกทักษะการพัฒนาบุคลิกภาพ Attitude & Personality
ภาคปฏิบัติจำลอง–สถานการณ์สัมภาษณ์
ความรู้ทั่วๆไปเกี่ยวกับสายการบิน
เทคนิคการแต่งหน้า – การแต่งกาย Grooming Make-up & Dressing
ใน แต่ละหัวข้อที่พี่กล่าวมาข้างต้นค่อนข้างที่จะสำคัญมากๆ น้องๆ จะต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญเวลาที่น้องเข้าสัมภาษณ์จริงๆจะได้ไม่ ประหม่าจนทำให้น้องๆต้องพลาดโอกาสได้นะคะ
12 comments:
พรพล ตรีฤกษ์ฤทธิ์/พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน /สจ๊วต) /Age 26
การเป็น "พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน" ยังเป็นอาชีพในฝันที่ได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลายสำหรับหนุ่มสาวทั่ว ทุกมุมโลก ไม่เฉพาะบัณฑิตจบใหม่เท่านั้น แม้คนทำงานแล้วก็ยังหาโอกาสเข้าสู่อาชีพนี้ เพราะภาพของเหล่าสจ๊วต (Steward) และแอร์โฮสเตส (Air Hostess) ในสายตาชาวโลกนั้นช่างดูดี โก้และเท่เสียจริง ๆ เพราะมีรายได้สูง ได้เดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศฟรี ๆ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้เป็นที่ดึงดูดใจให้คนหันมาสนใจอาชีพนี้จนกลายเป็นอาชีพติด อันดับอยู่เสมอ ภาพการทำงานของที่เราเห็นอาจเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่เบื้องหลังการทำงานของสจ๊วตและแอร์โฮสเตสคือการทำงานที่หนักและเหนื่อย เพราะเป็นงานที่ต้องอาศัยแรงกาย แรงใจล้วน ๆ ทั้งยังต้องแข่งกับเวลาที่มีอย่างจำกัด รวมถึงปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เขาและเธอต้องพบเจออยู่เป็นประจำ การเตรียมพร้อมกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นทุกนาทีอยู่เสมอเพื่อความ ปลอดภัยของผู้โดยสาร ฯลฯ ถ้าหากไม่ใช่แค่ภาษาอังกฤษดีและการแต่งตัวสวย/หล่อออกมาต้อนรับและเสิร์ฟ อาหารอย่างที่เห็นเท่านั้น เราคงต้องกลับไปถามตัวเองใหม่อีกครั้งว่า "การเป็นสจ๊วต/แอร์โฮสเตส...ใช่อาชีพในฝันของฉันจริง ๆ หรือเปล่า" เพราะไม่ใช่งานสบายอย่างที่คิด ที่สำคัญเป็นงานที่ต้องอดทนและต้องใช้หัวใจทำ
สำหรับชายหนุ่มชาวชลบุรี หน้าตาดี สูงร้อยแปดสิบห้าเซนติเมตรคนนี้เขาทำงานในตำแหน่ง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือที่เรียกว่า "สจ๊วต" ของบริษัท การบินไทย (มหาชน) จำกัด "พรพล ตรีฤกษ์ฤทธิ์" หรือ "เก่ง" บุตรชายคนที่สอง (คนสุดท้อง) ของครอบครัวที่ทำงานวงการธนาคาร ชายหนุ่มที่ปฏิเสธการทำงานในออฟฟิศและเลือกเป็นสจ๊วตแทนหนุ่มแบงค์ เพื่อสานต่อความฝันตั้งแต่วัยเด็กคือการเป็น "นักบิน" ไม่ใช่เพราะอยากเท่หรือเป็นงานสบาย รายได้ดี หากเพราะปณิธานที่ตั้งไว้ว่า "สักวันจะขับเครื่องบินให้พ่อนั่ง" เก่งจึงเลือกเดินตามความฝัน โดยสมัครเข้าทำงานเป็นสจ๊วตกับการบินไทยซึ่งทำให้ใกล้ความจริงเข้ามาอีก หน่อย หลังหนึ่งปีผ่านไปชายหนุ่มพบว่างานสจ๊วตเป็นงานที่เขารักพอ ๆ กับที่อยากเป็นนักบินเหมือนอย่างที่ตั้งใจ อาชีพนี้ดีอย่างไร เป็นสจ๊วตต้องทำอะไรบ้าง หลายคนคงเริ่มสงสัยกันแล้ว
"เป็นสจ๊วตก็ต้องเรียนรู้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการปฐมพยาบาลผู้โดยสาร ตลอดจนการ Safety ต่าง ๆ บนเครื่องบิน และการให้บริการหลายรูปแบบกับผู้โดยสารที่แตกต่างกันในแต่ละวัน การทำงานแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะเมื่ออยู่ข้างบนออกซิเจนน้อย ทำให้เราทำงานยากขึ้นทั้งระบบความคิด และระบบร่างกายคือทำให้เหนื่อยเร็ว อีกทั้งเวลาที่ค่อนข้างกระชั้นชิดเริ่มงานตั้งแต่ก่อนเครื่องจะขึ้นจน กระทั่งเครื่องลง Landing ซึ่งเราต้องทำทุกอย่างให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด หน้าที่ของสจ๊วตคือการบริหารจัดการทุกอย่างตลอดเวลาที่อยู่บนเครื่อง ไม่ว่าจะการจัดเก็บสัมภาระให้เรียบร้อย หรือช่วยเหลือแอร์โฮสเตสเมื่อมีปัญหา รวมถึงการดูแลในครัว เช่น การเตรียมอาหาร อุ่นอาหาร ตรวจสอบจำนวนอาหารให้ครบเพื่อให้แอร์โฮสเตสนำมาเสริ์ฟให้ตรงกับจำนวนผู้ โดยสาร เป็นต้น งานเหล่านี้สจ๊วตจะต้องทำประจำวันและจบภายในระยะเวลาในแต่ละไฟลท์ให้เรียบ ร้อยที่สุด"
เข้ามาเป็นสจ๊วตได้อย่างไร เก่งเล่าว่า ตั้งแต่ตอนเรียนอยู่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญก็เลือกเรียน Business Computer เพราะชอบคอมพิวเตอร์เป็นทุนเดิมและถือว่าเป็นสาขาวิชาที่เป็น Basic ของการที่จะเป็นนักบินเพราะสามารถเรียนต่อเนื่องกันได้ พอจบการศึกษาแล้วก็เริ่มทำงานที่แรกกับบริษัทติดตั้งระบบก๊าซในตำแหน่ง มาร์เก็ตติ้ง แต่พบว่าไม่ตรงกับที่ชอบเพราะเป็นงานออฟฟิศจึงรู้สึกค่อนข้างอึดอัดเหมือน กัน แต่ก็ทำมาหนึ่งปึจึงสมัครสอบเข้าเป็นสจ๊วตที่ บมจ.การบินไทย ซึ่ง ณ วันนี้อยากเก่งหันไปขอบคุณบริษัทติดตั้งระบบก๊าซที่เคยทำ เพราะที่นั่นทำให้ได้ประสบการณ์มามากมาย อีกทั้งได้รู้จักคุณค่าของชีวิตและคุณค่าของเงิน ทำให้วันนี้ได้ใช้ชีวิตไม่ประมาทและยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริ ทำให้มีความสุขอย่างที่เห็น
"อีกแรงบันดาลใจที่ผมมาเป็นสจ๊วตคือช่วงที่เรียน ม.5 ที่โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์)ได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนโครงการ Yes ที่อเมริกานาน 11 เดือน ครั้งหนึ่งมีโอกาสได้ Present เกี่ยวกับประเทศไทยให้คนในหอประชุมฟัง รู้สึกภูมิใจมากเพราะเป็นแค่เด็กไทยคนหนึ่งเท่านั้นแต่มีโอกาสเผยแพร่เมือง ไทยของเราให้ฝรั่งรู้จักได้ พอกลับมาชีวิตก็เปลี่ยนไปค่อนข้างมากแล้ว ซึ่งเป็นประสบการณ์ดี ๆ ที่มีคุณค่าหาไม่ได้จริง ๆ ช่วงอยู่อเมริกาทำให้ผมได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น รู้จักตัวเองมากขึ้น รับผิดชอบมากขึ้น ฯลฯ ต้องขอบคุณโครงการ YES ที่ให้โอกาสคนไม่จำเป็นต้องเก่งภาษาได้มีโอกาสร่วมโครงการดี ๆ อย่างนี้ทำให้ได้สิ่งดี ๆ หลายอย่างเลยซึ่งพอมาทำงานเป็นสจ๊วตก็รู้สึภูมิใจมากเพราะเป็นคนแรกที่จะรับ ผู้โดยสารชาวต่างชาติขึ้นเครื่องมาเมืองไทย ดีใจที่ได้ทำงานกับการบินไทย คือ Thai Airways International องค์กรที่ใช้ชื่อประเทศเป็นชื่อสำคัญของบริษัท ซึ่งมีไม่กี่บริษัทที่ใช้ชื่อลักษณะนี้ ซึ่งผมก็ได้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรแห่งชาติของประเทศไทยในเวลานี้แล้ว"
หลังจากเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนของโครงการ YES จนกระทั่งกลับมา เก่งก็ช่วยเหลืองานของโครงการฯ มาตลอดเป็นระยะเวลากว่าสิบปีในการเป็นที่ปรึกษาช่วยเหลือพูดคุยกับน้อง ๆ และผู้ปกครองของโครงการฯ อยู่เสมอ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นพิธีกรให้กับโครงการฯ อีกด้วย ทำให้เก่งเรียนรู้ที่จะใช้คำพูดและการสื่อสารต่าง ๆ เป็นอย่างดี และด้วยความที่เล่นกีฬาบาสเก็ตบอลมาตั้งแต่ระดับเยาวชน เมื่อเรียนต่อระดับอุดมศึกษาเก่งจึงกลายเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอล ของมหาวิทยาลัยเต็มตัวและลงแข่งในแม็ทต่างๆ เรื่อยมาจนกระทั่งปีสุดท้ายดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนของทีม เมื่อได้มาทำงานอยู่ บมจ.การบินไทย ทำให้เขาเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอลประจำบริษัทฯ เพียงแต่ไม่ได้ลงแข่งบ่อยเหมือนเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษา
"ส่วนงานอดิเรกผมก็เล่นดนตรี เล่นเปียโน ปลูกต้นไม้ ครับเป็นเพราะทำกิจกรรมเยอะมากจึงรู้สึกว่าไม่ชอบงานออฟฟิศ พอคุยกับคุณพ่อว่าชอบเป็นนักบินเพราะเป็นอาชีพที่ไม่อยู่กับที่ และค่อนข้างใช้การเดินทาง ใช้ภาษา ซึ่งคุณพ่อเองก็สนับสนุน ไม่ว่าอะไรทั้งๆ ที่ครอบครัวเราทำงานธนาคารเกือบทุกคน ผมก็เลยมีความฝันลึก ๆ ไว้ว่าอยากขับเครื่องบินให้คุณพ่อนั่ง ตั้งเป้าหมายไว้ตรงนั้นมากกว่าครับ"
สำหรับเหตุการณ์ประทับใจและเรื่องตื่นเต้นต่างๆ ที่พบเจอเมื่อทำงานบนเครื่อง เก่งเล่าว่าก็มีเยอะไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสารหรือเพื่อนร่วมงาน ยกตัวอย่างเรื่องประทับใจเช่น เห็นพี่แอร์โฮสเตสปิดไฟให้ผู้โดยสารตอนเขานอนหลับ โดยที่ผู้โดยสารไม่ได้ร้องขอ ส่วนแอร์โฮสเตสก็ไม่ได้ต้องการคำขอบคุณแต่อย่างใด ทั้งๆ ที่เวลาบนเครื่องมีจำกัดทุกคนเร่งรีบทำงาน สิ่งที่พบเห็นซึ่งเป็นจุดเล็ก ๆนี้กลับเป็นตัวอย่างของหน้าที่ของการให้บริการที่ประทับใจและเก่งอยากซึม ซับให้ได้มากที่สุด ส่วนเรื่องที่ตื่นเต้นคือครั้งหนึ่งเคยเจอผู้โดยสารชายชาวต่างชาติที่ควบคุม สติตัวเองไม่ได้พยายามจะเข้าไปห้องนักบินเพื่อให้ไปจอดตามที่ตัวเองต้องการ และเครื่องกำลังลง ความจำเป็นต้องให้เขาอยู่ในความสงบเพราะผู้โดยสารคนอื่นตกใจ ซึ่งสจ๊วตบนเครื่องต้องใช้ความพยายามและขั้นตอนต่าง ๆ อย่างละเอียดในการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาไม่ว่าเรื่องการบาดเจ็บของผู้โดยสารคนนั้นต้องไม่มีเลย รวมถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารคนอื่น ๆ ตลอดจนข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ ซึ่งเป็นเหตุการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้นและสจ๊วตทั้งหมดก็ควบคุมสถานการณ์ได้ สำเร็จยังเป็นเรื่องที่เก่งจำได้ไม่เคยลืม
"ผมคิดว่าความท้าทายในงานคือการเจอผู้โดยสารที่หลากหลายและต้องเจอสิ่งแปลก ใหม่ตลอดเวลา ปกติพวกเราจะถูกฝึกอบรมมาก่อนที่จะปฏิบัติงานจริง ได้รับการฝึกเรื่องนี้ค่อนข้างมากจนบางครั้งคิดว่าแล้วจะต้องรู้ทุกอย่างไป ทำไมนะ จะเรียนไปทำไมเยอะแยะมากมาย จะมีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นจริงหรือ แต่เมื่อมาทำงานบนเครื่อง เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นจริง ๆ มีทั้งผู้โดยสารไม่สบาย หรือแม้แต่เสียชีวิตบนเครื่อง ฯลฯ ทุกอย่างที่เคยถูกฝึกอบรมมี Step มีขั้นตอน มีวิธีการแก้ปัญหาในการทำงาน ไม่ใช่ว่าเรื่องเหล่านี้จะคอยแก้ปัญหาข้างบนกันตลอดเวลา การฝึกอบรมจากสถานการณ์ต่าง ๆ พวกเราได้ถูกเตรียมพร้อมไว้เพื่อรับมือหมดแล้ว"
เก่งยังแนะนำสำหรับน้อง ๆ ที่อยากเป็นสจ๊วตว่า ต้องเปิดใจให้กว้าง ยอมรับในสิ่งต่างๆ ของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้โดยสาร เพื่อนร่วมงานหรือสภาพแวดล้อม และการทำงานที่จะแตกต่างกันในทุก ๆ ไฟลท์ แทบจะไม่มีไฟล์ทไหนที่เหมือนกัน ในการทำงานเราอาจต้องเจอสภาพอากาศที่ไม่ดี การตื่นนอนที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ทุกอย่างต้องปรับตัวให้ได้ สจ๊วตเป็นอาชีพที่ค่อนข้างเหนื่อยเพราะการทำงานบนเครื่องบินแตกต่างที่ ภาคพื้นอยู่แล้ว ถ้าเราดูแลสุขภาพดีก็โอเคเพราะเงินเดือนที่ได้มาก็สูงในระดับหนึ่งแต่ต้อง ดูแลสุขภาพให้ดีด้วย สำหรับสจ๊วตการบินไทยคะแนน TOEIC จะอยู่ที่ 600 ขึ้นไปที่เหลือจะเป็นบุคลิกภาพ น้ำหนักส่วนสูงที่ต้องสัมพันธ์กัน อย่างอื่นก็ต้องขวนขวายเอาเองว่าอยากเข้ามามากแค่ไหน
"ส่วนเรื่องสัมภาษณ์บางคนอาจจะบอกว่าให้เป็นตัวเองให้มากที่สุด ความจริงก็ได้นะ แต่แนะนำว่าถ้าเราไม่เตรียมตัวไปเลยเวลาเขายิงคำถามง่ายๆ มาแล้วเราต้องมานั่งใช้เวลาคิด 3- 4 วินาทีในขณะที่คนอื่นตอบได้ทันทีเนี่ย ถ้าเป็นใครก็ต้องเลือกคนที่เตรียมตัวมามากกว่าใช่ไหม เช่นคำถามที่ว่าทำไมบริษัทนี้ถึงต้องเลือกคุณ ทำไมคุณถึงอยากทำงานบริษัทนี้ อะไรคือข้อดี-ข้อเสียของคุณ คำถามเหล่านี้ไม่มีข้อผิดหรอกทุกคนตอบได้ แต่จะตอบดีแค่ไหนอยู่ที่การฝึกซ้อม คำถามเบสิกง่ายๆ ลองฝึกดี ๆ จะให้ผลมากกว่าที่เราจะไปเตรียมตัวหาข้อมูลบริษัทลึก ๆ ที่เขาอาจไม่ถามเพราะโอกาสที่เขาจะถามคำถามพวกนี้มันมีมากกว่าอยู่แล้ว"
สจ๊วตมาดเท่คนนี้แพลนอนาคตตัวเองไว้ว่า อยากทำงานกับการบินไทยต่อไปและเติบโตไปพร้อมกับบริษัทให้มากที่สุด ส่วนอนาคตอาจจะเรียนต่อปริญญาโทสักใบเพื่อเป็นรางวัลชีวิต และท้ายสุดเขาฝากให้ข้อคิดกับน้อง ๆ ด้วยว่าควรเป็นผู้รู้จัก็ตัวเอง เรียนรู้ตัวเองและที่สำคัญควรเป็นผู้รู้จักบุญคุณคน หากมีโอกาสก็น่าจะตอบแทนประเทศชาติบ้านเมืองแม้เรื่องเล็กน้อยก็ยังดีกว่า ไม่ได้ทำอะไรเลย "ตอนนี้ผมกำลังเดินเข้าไปหาความฝันซึ่งใกล้เข้ามาทุกทีก็รู้ว่ามันก็ไม่ได้ อยู่ไกลเกินจริงแล้ว ...สักวันหนึ่งคุณพ่อผมคงจะดีใจมาก ถ้าผมก้าวไปนั่งในตำแหน่งคนขับและพาท่านขึ้นไปเที่ยวบนฟ้าด้วยตัวของผม เอง...
นิตยสารการศึกษาอัพเกรด ฉบับ 122
Post a Comment